
Jiap
Senior Member
Themenstarter
[FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]อำมาตย์(1)
อำมาตย์ (อ่านว่า อัม-หฺมาด) แผลงมาจากคำว่า อมาตย์ (อ่านว่า อะ -หฺมาด) ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤตว่า อมาตฺย (อ่านว่า อะ -มาด-ยะ) มีความหมายตามรากศัพท์ว่า ผู้อาศัยอยู่ในบ้านหรือในครอบครัวของเรา คำว่า "เรา" ในที่นี้หมายถึงพระราชา ดังนั้น อมาตฺย จึงมีความหมายว่า คนสนิทของพระราชา ภายหลังเป็นที่ปรึกษาของพระราชา
อมาตย์ (อ่านว่า อะ -หฺมาด) หรือ อำมาตย์ ในภาษาไทยใช้หมายถึง ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเป็นข้าเฝ้าใกล้ชิดของพระราชา คอยถวายความเห็นเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย
คำว่า อมาตย์ หรือ อำมาตย์ พบในวรรณคดีและในกฎหมายตราสามดวง ใช้รวมกับคำอื่น ๆ อย่าง เสนามาตย์ (อ่านว่า เส-นา-มาด), เสวกามาตย์ (อ่านว่า เส-วะ-กา-มาด), พฤฒามาตย์ (อ่านว่า พฺรึด-ทา-มาด), อำมาตยาธิบดี (อ่านว่า อัม-หฺมาด-ตะ-ยา-ทิบ-บอ-ดี) เป็นต้น
ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"[/FONT]
อำมาตย์ (อ่านว่า อัม-หฺมาด) แผลงมาจากคำว่า อมาตย์ (อ่านว่า อะ -หฺมาด) ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤตว่า อมาตฺย (อ่านว่า อะ -มาด-ยะ) มีความหมายตามรากศัพท์ว่า ผู้อาศัยอยู่ในบ้านหรือในครอบครัวของเรา คำว่า "เรา" ในที่นี้หมายถึงพระราชา ดังนั้น อมาตฺย จึงมีความหมายว่า คนสนิทของพระราชา ภายหลังเป็นที่ปรึกษาของพระราชา
อมาตย์ (อ่านว่า อะ -หฺมาด) หรือ อำมาตย์ ในภาษาไทยใช้หมายถึง ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเป็นข้าเฝ้าใกล้ชิดของพระราชา คอยถวายความเห็นเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย
คำว่า อมาตย์ หรือ อำมาตย์ พบในวรรณคดีและในกฎหมายตราสามดวง ใช้รวมกับคำอื่น ๆ อย่าง เสนามาตย์ (อ่านว่า เส-นา-มาด), เสวกามาตย์ (อ่านว่า เส-วะ-กา-มาด), พฤฒามาตย์ (อ่านว่า พฺรึด-ทา-มาด), อำมาตยาธิบดี (อ่านว่า อัม-หฺมาด-ตะ-ยา-ทิบ-บอ-ดี) เป็นต้น
ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"[/FONT]